วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัญญาเช่า


สัญญาเช่า (อังกฤษlease agreement) เป็นสัญญาที่ผู้เป็นเจ้าของให้ผู้เช่าได้ใช้สินทรัพย์ของตน ซี่งเมื่อมองลึกลงไปสัญญาเช่านั้นจะแจกแจงชนิดของสินทรัพย์ได้เป็น 2 ประเภทคือสินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่นการเช่าที่ดิน หรือสิ่งของอื่นๆ และสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น สัญญาเช่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือคลื่นความถี่วิทยุ สัญญาเช่ามักจะระบุช่วงเวลาเช่า ส่วนใหญ่มักจะเป็นการทำสัญญาแบบเดือนต่อเดือน
ข้อตกลงทั่วไป
สัญญาเช่าเป็นสัญญาทางกฎหมายและบังคับใช้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องภายใต้เงื่อนไขกฎของสัญญา สัญญาเช่าแบบเฉพาะเจาะจง อาจจะมีคำสั่งที่เฉพาะเจาะจงในเรื่องนั้นๆ ขึ้นชนิดและประเภทของสัญญาเช่าที่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายได้กระทำขึ้น
องค์ประกอบทั่วไป:
  • ชื่อของผู้ทำสัญญาทั้ง 2 ฝ่าย
  • วันที่เริ่มต้นและระยะเวลาของสัญญา
  • ระบุวัตถุที่เฉพาะเจาะจงของสัญญาเช่า
  • กำหนดเงื่อนไขที่ใช้ในกรณีการต่ออายุหรือไม่ต่ออายุ
  • กำหนดรูปแบบการชำระเงิน (เงินก้อนหรือชำระเป็นงวดๆ)
  • กำหนดบทบัญญัติสำหรับการเช่าสินค้าและการชำระคืน
  • กำหนดและอธิบายเงื่อนไขพิเศษ (ในกรณีที่เป็นสัญญษเช่าเฉพาะเจาะจง)อ่านต่อ

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

  ๑. การทำบัตรประจำตัวประชาชน กฎหมายกำหนดว่า ผู้ที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
          ๑) เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
          ๒) มีอายุ ๑๕ ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จนถึงอายุ ๗๐ ปี บริบูรณ์
          ๓) มีภูมิลำเนาหรือชื่อในทะเบียนบ้านในท้องที่ที่ไปยื่นคำร้องขอมีบัตร
     ๒. กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา
          ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดว่า
          ๑) บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
          ๒) บุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้ หรือร่างกายพิการทุพพลภาพ หรือบุคคลไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือผู้ด้อยโอกาส จะมีสิทธิและมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือทางการศึกษาตามกฎหมาย

     ๓. กฎหมายทะเบียนราษฎร์          ๑) การแจ้งเกิด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนเกิดภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันเกิด เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดไว้แล้วก็จะออำ ใบแจ้งการเกิด หรือสูติบัตร ให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
          ๒) การแจ้งตาย เจ้าบ้านจะต้องแจ้งแก่นายทะเบียนท้องถิ่นภายใน ๒๔ ชั่วโมง หรือ ๑ วัน นับแต่เวลาตายอ่านต่อ